สารประกอบไฮโดรคาร์บอน
สารประกอบอินทรีย์ที่มีเฉพาะธาตุคาร์บอนและไฮโดรเจนเป็นองค์ประกอบมีชื่อเรียกว่าสารประกอบไฮโดรคาร์บอน เช่น
ในธรรมชาติพบสารประกอบไฮโดรคาร์บอนเกิดอยู่ในแหล่งต่างๆ เช่น ยางไม้ ถ่านหิน ปิโตรเลียม นอกจากนี้ยังพบว่ามีสารประกอบไฮโดรคาร์บอนจำนวนมากที่ได้จากการสังเคราะห์แหล่งกำเนิดของสารประกอบไฮโดรคาร์บอนที่สำคัญที่สุด คือ ปิโตรเลียม นักเรียนจะได้ศึกษาสมบัติบางประการของสารประกอบไฮโดรคาร์บอนเพื่อเป็นพื้นฐานในการศึกษาเกี่ยวกับสารประกอบอินทรีย์ชนิดต่างๆ ต่อไป




สมบัติบางประการของสารประกอบไฮโดรคาร์บอน
จากข้อมูลในตาราง 11.5 ที่ได้ศึกษามาแล้วพบว่า สารประกอบไฮโดรคาร์บอนที่มีสูตรโมเลกุลเหมือนกันคือ
แต่มีสูตรโครงสร้างต่างกัน จะมีจุดหลอมเหลว จุดเดือด และความหนาแน่นต่างกัน ต่อไปจะได้ศึกษาว่าสารประกอบไฮโดรคาร์บอนที่มีจำนวนอะตอมของคาร์บอนเท่ากันแต่พันธะในโมเลกุลต่างกัน จะมีสมบัติเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร โดยศึกษาจากปฏิกิริยาของเฮกเซน
เฮกซีน
และเบนซีน
)ซึ่งเป็นสารที่มีคาร์บอนในโมเลกุล 6 อะตอมเท่ากัน ในการทดลองต่อไปนี้
การทดลอง 11.3 สมบัติบางประการของสารประกอบไฮโดรคาร์บอน
1. หยดเฮกเซน 5 หยด และน้ำ 10 หยด ลงในหลอดทดลองขนาดเล็ก เขย่าและสังเกตการณ์
ละลาย
2. หยดเฮกเซนลงในจานหลุมโลหะ 5 หยด จุดไฟและสังเกตการณ์ลุกไหม้
3. หยดเฮกเซน 5 หยด ลงในหลอดทดลองขนาดเล็กแล้วหยดสารละลายโพแทสเซียมเปอร์
แมงกาเนต ลงไป 2 หยด เขย่าและสังเกตการณ์เปลี่ยนแปลง
4. ทำการทดลองเช่นเดียวกับข้อ 1-3 โดยใช้เฮกซีนแทนเฮกเซน
5. ศึกษาสมบัติบางประการของเฮกเซน เฮกซีนและเบนซีน โดยใช้ข้อมูลที่ได้จากการ
ทดลองประกอบกับข้อมูลที่กำหนดให้ในตารางท้ายการทดลอง
จากข้อมูลในตาราง 11.5 ที่ได้ศึกษามาแล้วพบว่า สารประกอบไฮโดรคาร์บอนที่มีสูตรโมเลกุลเหมือนกันคือ




การทดลอง 11.3 สมบัติบางประการของสารประกอบไฮโดรคาร์บอน
1. หยดเฮกเซน 5 หยด และน้ำ 10 หยด ลงในหลอดทดลองขนาดเล็ก เขย่าและสังเกตการณ์
ละลาย
2. หยดเฮกเซนลงในจานหลุมโลหะ 5 หยด จุดไฟและสังเกตการณ์ลุกไหม้
3. หยดเฮกเซน 5 หยด ลงในหลอดทดลองขนาดเล็กแล้วหยดสารละลายโพแทสเซียมเปอร์
แมงกาเนต ลงไป 2 หยด เขย่าและสังเกตการณ์เปลี่ยนแปลง
4. ทำการทดลองเช่นเดียวกับข้อ 1-3 โดยใช้เฮกซีนแทนเฮกเซน
5. ศึกษาสมบัติบางประการของเฮกเซน เฮกซีนและเบนซีน โดยใช้ข้อมูลที่ได้จากการ
ทดลองประกอบกับข้อมูลที่กำหนดให้ในตารางท้ายการทดลอง
.jpg)
- จากผลการทดลองและข้อมูลเพิ่มเติม จงพิจารณา ว่าเฮกเซน เฮกซีน และเบนซีนมีสมบัติเหมือนกัน หรือแตกต่างกันอย่างไรบ้าง
การละลายของสารในตัวทำละลายเกิดจากอนุภาคของสารแทรกเข้าไปอยู่ระหว่างอนุภาคของตัวทำละลายและเกิดแรงยึดเหนี่ยวซึ่งกันและกัน สารที่มีขั้วจะละลายได้ดีในตัวทำละลายมีขั้ว ส่วนสารที่ไม่มีขั้วจะละลายได้ดีในตัวทำละลายไม่มีขั้ว แต่เนื่องจากน้ำเป็นตัวทำละลายมีขั้วสารที่ละลายในน้ำได้จึงควรเป็นโมเลกุลมีขั้วจากการทดลองและข้อมูลเพิ่มเติมพบว่าทั้งเฮกเซน เฮกซีนและเบนซีนไม่ละลายในน้ำ และลอยอยู่บนชั้นของน้ำแสดงว่าสารประกอบไฮโดรคาร์บอนทั้ง 3 ชนิดเป็นโมเลกุลไม่มีขั้วและมีความหนาแน่นน้อยกว่าน้ำ
การเผาไหม้ของสารเกิดจากสารเหล่านั้นทำปฏิกิริยากับแก๊สออกซิเจน สำหรับการเผาไหม้อย่างสมบูรณ์ของสารประกอบไฮโดรคาร์บอน จะได้ผลิตภัณฑ์เป็นแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์และน้ำ ดังนั้นการเผาไหม้เป็นแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์และน้ำ ดังนั้นการเผาไหม้อย่างสมบูรณ์ของเฮกเซน
เฮกซีน
และเบนซีน
) จึงเขียนสมการแสดงได้ดังนี้
การละลายของสารในตัวทำละลายเกิดจากอนุภาคของสารแทรกเข้าไปอยู่ระหว่างอนุภาคของตัวทำละลายและเกิดแรงยึดเหนี่ยวซึ่งกันและกัน สารที่มีขั้วจะละลายได้ดีในตัวทำละลายมีขั้ว ส่วนสารที่ไม่มีขั้วจะละลายได้ดีในตัวทำละลายไม่มีขั้ว แต่เนื่องจากน้ำเป็นตัวทำละลายมีขั้วสารที่ละลายในน้ำได้จึงควรเป็นโมเลกุลมีขั้วจากการทดลองและข้อมูลเพิ่มเติมพบว่าทั้งเฮกเซน เฮกซีนและเบนซีนไม่ละลายในน้ำ และลอยอยู่บนชั้นของน้ำแสดงว่าสารประกอบไฮโดรคาร์บอนทั้ง 3 ชนิดเป็นโมเลกุลไม่มีขั้วและมีความหนาแน่นน้อยกว่าน้ำ
การเผาไหม้ของสารเกิดจากสารเหล่านั้นทำปฏิกิริยากับแก๊สออกซิเจน สำหรับการเผาไหม้อย่างสมบูรณ์ของสารประกอบไฮโดรคาร์บอน จะได้ผลิตภัณฑ์เป็นแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์และน้ำ ดังนั้นการเผาไหม้เป็นแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์และน้ำ ดังนั้นการเผาไหม้อย่างสมบูรณ์ของเฮกเซน







จากผลการทดลองและข้อมูลเพิ่มเติมพบว่าเบนซีนเผาไหม้แล้วได้เขม่ามาก เฮกซีนมีเขม่าเกิดขึ้นเล็กน้อย ส่วนเฮกเซนไม่มีเขม่า ทั้งที่เผาในสภาวะเดียวกันซึ่งมีปริมาณออกซิเจนที่อยู่ในอากาศเท่ากัน แสดงว่าปริมาณของออกซิเจนน่าจะไม่ใช่ปัจจัยประการเดียวที่มีผลต่อการเผาไหม้ของสารประกอบไฮโดรคาร์บอน
การที่สารประกอบไฮโดรคาร์บอนเผาไหม้แล้วเกิดเขม่า เป็นเพราะเกิดการเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์ ซึ่งอาจเกิดจากการที่มีปริมาณของออกซิเจนไม่เพียงพอหรือมีพลังงานที่ใช้เผาไหม้ไม่เพียงพอ สารประกอบไฮโดรคาร์บอนที่มีพันธะระหว่างอะตอมของคาร์บอนในโมเลกุลเป็นพันธะคู่หรือพันธะสาม จะต้องใช้พลังงานปริมาณมากเพื่อสลายพันธะเดิมก่อนสร้างพันธะใหม่กับออกซิเจนเกิดเป็น
ถ้าพลังงานที่ใช้ในการเผาไหม้มีไม่เพียงพอที่จะสลายพันธะคู่หรือพันธะสามได้อย่างสมบูรณ์ จะทำให้มีคาร์บอนที่ยังไม่เกิดปฏิกิริยาเหลืออยู่ในรูปของเขม่าได้ จากการทดลองซึ่งพบว่าการเผาไหม้เฮกเซนไม่มีเขม่าเกิดขึ้น ส่วนเฮกซีนและเบนซีนมีเขม่าเกิดขึ้น แสดงว่าสารประกอบไฮโดรคาร์บอนทั้ง 3 ชนิด น่าจะแตกต่างกัน เมื่อพิจารณาโครงสร้างโมเลกุลของเฮกเซนพบว่ามีแต่พันธะเดี่ยว ส่วนเฮกซีนและเบนซีนน่าจะมีพันธะคู่หรือพันธะสามอยู่ในโมเลกุล ดังรูป 11.2
.jpg)
การที่สารประกอบไฮโดรคาร์บอนเผาไหม้แล้วเกิดเขม่า เป็นเพราะเกิดการเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์ ซึ่งอาจเกิดจากการที่มีปริมาณของออกซิเจนไม่เพียงพอหรือมีพลังงานที่ใช้เผาไหม้ไม่เพียงพอ สารประกอบไฮโดรคาร์บอนที่มีพันธะระหว่างอะตอมของคาร์บอนในโมเลกุลเป็นพันธะคู่หรือพันธะสาม จะต้องใช้พลังงานปริมาณมากเพื่อสลายพันธะเดิมก่อนสร้างพันธะใหม่กับออกซิเจนเกิดเป็น

.jpg)
รูป 11.2 สูตรโครงสร้างของเฮกเซนเฮกซีนและเบนซีน
สำหรับการเกิดปฏิกิริยากับสารละลายโบรมีนและสารละลายโพแทสเซียมเปอร์แมงกาเนต สามารถสังเกตได้จากการเปลี่ยนสีของสารละลายแต่ละชนิด จากการทดลองพบว่าเฮกเซนฟอกจางสีโบรมีนได้เฉพาะในที่มีแสงสว่างและเกิดแก๊สทีมีสมบัติเป็นกรด แต่ไม่ฟอกจางสีสารละลายโพแทสเซียมเปอร์แมงกาเนต ส่วนเฮกซีนสามารถฟอกจางสีโบรมีนได้ทั้งในที่มืดและที่สว่างโดยไม่เกิดแก๊สที่มีสมบัติเป็นกรด และยังฟอกจางสีสารละลายโพแทสเซียมเปอร์แมงกาเนตได้อีกด้วย ส่วนเบนซีนไม่ฟอกจางสีโบรมีน และโพแทสเซียมเปอร์แมงกาเนต แสดงว่าเฮกซีนว่องไวในการเกิดปฏิกิริยากับสารละลายโบรมีนและสารละลายโพแทสเซียมเปอร์แมงกาเนตมากกว่าเฮกเซน และเฮกเซนว่องไวในการเกิดปฏิกิริยามากกว่าเบนซีน
- สมบัติต่างๆ ของสารประกอบไฮโดรคาร์บอนที่ได้ศึกษามาแล้ว ใช้เป็นเกณฑ์ในการจำแนกประเภท สารประกอบไฮโดรคาร์บอนได้หรือไม่ อย่างไร
11.3.2 ประเภทของสารประกอบไฮโดรคาร์บอน
จากการทดลอง 11.3 พบว่าการละลายในน้ำ การเผาไหม้ การทำปฏิกิริยากับโบรมีนและโพแทสเซียมเปอร์แมงกาเนตของเฮกเซน เฮกซีนและเบนซีน ซึ่งเป็นสารประกอบไฮโดรคาร์บอนที่มีจำนวนอะตอมของคาร์บอนเท่ากัน แต่มีสมบัติบางประการดังที่กล่าวมาแล้วแตกต่างกัน เพราะเหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น นักเรียนจะได้ศึกษาปัจจัยที่ทำให้สารทั้งสามมีสมบัติต่างกันออกไป
11.3.2.1 แอลเคน
จากการทดสอบสมบัติของเฮกเซน พบว่าเฮกเซนทำปฏิกิริยากับโบรมีนได้เฉพาะในที่มีแสงสว่าง ได้แก๊สที่เปลี่ยนสี
กระดาษลิตมัสชื้นจากน้ำเงินเป็นแดง ปฏิกิริยานี้เกิดขึ้นได้อย่างไร
เฮกเซนเป็นสารประกอบไฮโดรคาร์บอน มีสูตรโมเลกุลเป็น
โดยคาร์บอนทุกอะตอมสร้างพันธะเดี่ยวทั้งหมดกับอะตอมของคาร์บอนและไฮโดรเจน สารประกอบไฮโดรคาร์บอนที่อะตอมของคาร์บอนในโมเลกุลสร้างพันธะเดี่ยวทั้งหมดจัดเป็น สารประกอบไฮโดรคาร์บอนประเภทอิ่มตัว และเรียกสารประกอบไฮโดรคาร์บอนอิ่มตัวนี้ว่า แอลเคน
เมื่อเฮกเซนทำปฏิกิริยากับโบรมีนในที่มีแสงสว่างน้อย อะตอมของโบรมีนจะเข้าแทนที่อะตอมของไฮโดรเจนในโมเลกุลของเฮกเซน เกิดเป็นโบรโมเฮกเซนกับแก๊สไฮโดรเจนโบรไมด์ เขียนสมการแสดงได้ดังนี้
11.3.2 ประเภทของสารประกอบไฮโดรคาร์บอน
จากการทดลอง 11.3 พบว่าการละลายในน้ำ การเผาไหม้ การทำปฏิกิริยากับโบรมีนและโพแทสเซียมเปอร์แมงกาเนตของเฮกเซน เฮกซีนและเบนซีน ซึ่งเป็นสารประกอบไฮโดรคาร์บอนที่มีจำนวนอะตอมของคาร์บอนเท่ากัน แต่มีสมบัติบางประการดังที่กล่าวมาแล้วแตกต่างกัน เพราะเหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น นักเรียนจะได้ศึกษาปัจจัยที่ทำให้สารทั้งสามมีสมบัติต่างกันออกไป
11.3.2.1 แอลเคน
จากการทดสอบสมบัติของเฮกเซน พบว่าเฮกเซนทำปฏิกิริยากับโบรมีนได้เฉพาะในที่มีแสงสว่าง ได้แก๊สที่เปลี่ยนสี
กระดาษลิตมัสชื้นจากน้ำเงินเป็นแดง ปฏิกิริยานี้เกิดขึ้นได้อย่างไร
เฮกเซนเป็นสารประกอบไฮโดรคาร์บอน มีสูตรโมเลกุลเป็น

เมื่อเฮกเซนทำปฏิกิริยากับโบรมีนในที่มีแสงสว่างน้อย อะตอมของโบรมีนจะเข้าแทนที่อะตอมของไฮโดรเจนในโมเลกุลของเฮกเซน เกิดเป็นโบรโมเฮกเซนกับแก๊สไฮโดรเจนโบรไมด์ เขียนสมการแสดงได้ดังนี้
.jpg)
โบรโมเฮกเซนที่เกิดขึ้นมีไอโซเมอร์อื่นๆ ด้วย ซึ่งเกิดจากอะตอมของโบรมีนเข้าแทนที่อะตอมของไฮโดรเจนที่ต่อกับคาร์บอนตำแหน่งอื่นๆ แต่มีปริมาณที่แตกต่างกัน เช่น
.jpg)
สำหรับแก๊สไฮโดรเจนโบรไมด์ที่เกิดขึ้นสามารถละลายในน้ำได้และเกิดเป็นกรดไฮโดรโบรมิก จึงเปลี่ยนสีกระดาษลิตมัสชื้นจากสีน้ำเงินเป็นสีแดง ปฏิกิริยาที่อะตอมของไฮโดรเจนในสารประกอบไฮโดรคาร์บอนถูกแทนที่ด้วยอะตอมของธาตุอื่นเรียกว่า ปฏิกิริยาการแทนที่ ธาตุแฮโลเจนอื่นๆ เช่น คลอรีนหรือไอโอดีนก็เกิดปฏิกิริยาแทนที่กับสารประกอบไฮโดรคาร์บอนอิ่มตัวในที่มีแสงสว่างได้เช่นเดียวกัน แต่อัตราการเกิดปฏิกิริยาอาจแตกต่างกันตัวอย่างปฏิกิริยาการแทนที่เป็นดังนี้
.jpg)
- คลอโรโพรเพนดังสมการข้างต้นจะมีไอโซเมอร์ อื่นอีกหรือไม่ ถ้ามีจะมีโครงสร้างเป็นอย่างไร
ปฏิกิริยาที่สำคัญอีกชนิดหนึ่งของสารประกอบไฮโดรคาร์บอนประเภทแอลเคนก็คือ <b>ปฏิกิริยาการเผาไหม้</b> จากการทดลองพบว่า การเผาไหม้แอลเคนอย่างสมบูรณ์จะเกิดแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์และน้ำเป็นผลิตภัณฑ์ พร้อมทั้งคายพลังงานความร้อนออกมา จึงมีการนำแอลเคนโมเลกุลเล็กๆ ไปใช้เป็นเชื้อเพลิงและนำพลังงานความร้อนที่ได้ไปใช้โดยตรงหรือเปลี่ยนเป็นพลังงานกลและพลังงานไฟฟ้า เพื่อไปใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ แต่ถ้าแอลเคนเกิดการเผาไหม้แบบไม่สมบูรณ์ จะมีเขม่าและแก๊สคาร์บอนมอนออกไซด์เกิดขึ้นรวมอยู่ด้วย นอกจากนี้ยังพบว่าได้พลังงานความร้อนน้อยกว่าปฏิกิริยาการเผาไหม้แบบสมบูรณ์
นอกจากแอลเคนจะเกิดปฏิกิริยาการแทนที่และปฏิกิริยาการเผาไหม้แล้ว นักเรียนจะได้ศึกษาสมบัติอื่นๆ ของแอลเคนจากข้อมูลในตาราง 11.7
ตาราง 11.7 จุดหลอมเหลวและจุดเดือดของแอลเคนโซ่ตรงบางชนิด
จำนวนอะตอมของคาร์บอน
|
แอลเคน
|
จุดหลอมเหลว(
![]() |
จุดเดือด
![]() | |
ชื่อ
|
สูตรโมเลกุล
| |||
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
|
มีเทน
อีเทน
โพรเพน
บิวเทน
เพกเทน
เฮกเซน
เฮปเทน
ออกเทน
เดกเคน
โดเดกเคน
เตตระเดกเคน
เฮกซะเดกเคน
ออกตะเดกเคน
ไอโคเซน
| ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() |
-182.5
-182.8
-187.7
-138.3
-129.7
-95.3
-90.6
-56.8
-29.7
-9.6
5.8
18.2
28.2
36.4
|
-161.5
-88.6
-42.1
-0.5
36.1
68.7
98.4
125.7
174.1
216.3
253.5
286.8
316.3
343.0
|
ที่มา : Aylward, G.H. and Findlay, T.Y.V. SI chemical data. 5th ed : John Wiley & Sons Australia Ltd., 2002.
- จุดหลอมเหลวและจุดเดือดของแอลเคนมีความสัมพันธ์กับจำนวนอะตอมของคาร์บอนหรือไม่ อย่างไร
- ที่อุณหภูมิ 25
แอลเคนโซ่ตรงใน ตาราง 11.7 จะมีสถานะอย่างไร

- จำนวนอะตอมของคาร์บอนกับไฮโดรเจนมีความ สัมพันธ์กันหรือไม่ อย่างไร
จากข้อมูลในตาราง 11.7 เมื่อพิจารณาจุดหลอมเหลวและจุดเดือดของแอลเคน พบว่ามีค่าสูงขึ้นตามจำนวนอะตอมของคาร์บอนที่เพิ่มขึ้น การที่เป็นเช่นนี้เนื่องจากแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลของแอลเคนเป็นแรงลอนดอน ซึ่งจะมีค่าเพิ่มขึ้นตามมวลโมเลกุล เมื่อจำนวนอะตอมของคาร์บอนเพิ่มขึ้น มวลโมเลกุลจึงมีค่าเพิ่มขึ้นด้วย ทำให้แรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลเพิ่มขึ้น จุดหลอมเหลวและจุดเดือดจึงสูงขึ้น นอกจากนี้ยังพบว่าที่อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส แอลเคนโซ่ตรงอาจมีสถานะเป็นแก๊ส ของเหลวหรือของแข็งซึ่งพิจารณาได้จากจุดหลอมเหลวและจุดเดือดของสารนั้น เช่น แอลเคนโซ่ตรงที่มีคาร์บอน 1 - 4 อะตอม ซึ่งมีจุดหลอมเหลวต่ำกว่าอุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส แต่มีจุดเดือดสูงกว่า 25 องศาเซลเซียส จึงมีสถานะเป็นของเหลว ส่วนแอลเคนโซ่ตรงที่มีจำนวนคาร์บอน 18 และ 20 อะตอม มีจุดหลอมเหลวและจุดเดือดสูงกว่า 25 องศาเซลเซียส จึงมีสถานะเป็นของแข็ง
ใช้ข้อมูลในตาราง 11.7 เขียนกราฟแสดงความ สัมพันธ์ระหว่างจุดเดือดกับจำนวนอะตอมของ คาร์บอนในแอลเคน และทำนายว่าแอลเคนโซ่ตรงที่มีคาร์บอนจำนวน 9 อะตอม จะมีจุดเดือด ประมาณเท่าใด
|
จากสูตรโมเลกุลของแอลเคนในตาราง 11.7 ทำให้ทราบว่าจำนวนอะตอมของคาร์บอนกับไฮโดรเจนมีความสัมพันธ์กัน โดยจำนวนอะตอมของไฮโดรเจนจะเป็น 2 เท่าของจำนวนอะตอมของคาร์บอนบวกด้วย 2 เสมอ ถ้าให้ n เป็นจำนวนอะตอมของคาร์บอนในโมเลกุลของแอลเคน จำนวนอะตอมของไฮโดรเจนจะเท่ากับ 2n + 2 สูตรทั่วไปของแอลเคนจึงเขียนได้เป็น 
การเรียกชื่อแอลเคนในระบบ IUPAC จะเรียกตามจำนวนอะตอมของคาร์บอน โดยใช้จำนวนนับในภาษากรีกระบุจำนวนอะตอมของคาร์บอนและลงท้ายด้วยเสียง เ - น (-ane) จำนวนนับในภาษากรีกเป็นดังนี้
1. = มีทหรือเมท (meth-)
2. = อีทหรือเอท (eth-)
3. = โพรพ (prop-)
4. = บิวท (but-)
5. = เพนท (pent-)
6 = เฮกซ (hex-)
7 = เฮปท (hept-)
8 = ออกท (oct-)
9 = โนน (non-)
10 = เดกค (dec-)
แอลเคนที่มีสูตรโมเลกุล
มีคาร์บอน 1 อะตอม เรียกว่า มีเทน มีคาร์บอน 2 อะตอมเรียกว่า อีเทน ส่วน
มีคาร์บอน 3 อะตอมเรียกว่า โพรเพน ชื่อของแอลเคนมีจำนวนคาร์บอนมากกว่า 3 อะตอม ศึกษาได้จากตาราง 11.7

การเรียกชื่อแอลเคนในระบบ IUPAC จะเรียกตามจำนวนอะตอมของคาร์บอน โดยใช้จำนวนนับในภาษากรีกระบุจำนวนอะตอมของคาร์บอนและลงท้ายด้วยเสียง เ - น (-ane) จำนวนนับในภาษากรีกเป็นดังนี้
1. = มีทหรือเมท (meth-)
2. = อีทหรือเอท (eth-)
3. = โพรพ (prop-)
4. = บิวท (but-)
5. = เพนท (pent-)
6 = เฮกซ (hex-)
7 = เฮปท (hept-)
8 = ออกท (oct-)
9 = โนน (non-)
10 = เดกค (dec-)
แอลเคนที่มีสูตรโมเลกุล


ชื่อสารประกอบอินทรีย์ในยุคแรกๆ จะเป็นชื่อสามัญ ซึ่งตั้งตามแหล่งกำเนิดของสารประกอบหรือตามชื่อของผู้ค้นพบ เมื่อมีสารประกอบอินทรีย์มากขี้นเรื่อยๆ การเรียกชื่อสามัญอาจทำให้เกิดความสับสน นักเคมีจึงได้จัดระบบการเรียกชื่อสารประกอบอินทรีย์ขึ้น เพื่อให้มีความเข้าใจตรงกัน ในปี พ.ศ.2237 (ค.ศ.1892) ซึ่งเรียกระบบนี้ว่า International Union of Pure and Applied Cheministry หรือ IUPAC (อ่านว่าไอยูแพค)
|
- แอลเคนโซ่ตรงที่มีคาร์บอน 9 อะตอม มีชื่อและ สูตรโมเลกุลเป็นอย่างไร
สำหรับแอลเคนที่มีโครงสร้างแบบโซ่กิ่ง หมู่อะตอมที่แยกออกมาจากสายโซ่ของคาร์บอนจะเป็นโมเลกุลของแอลเคนที่สูญเสียไฮโดรเจน 1 อะตอม มีสูตรทั่วไปเป็น
หมู่อะตอมนี้เรียกว่า หมู่แอลคิล สูตรและชื่อของหมู่แอลคิลบางหมู่เมื่อเปรียบเทียบกับแอลเคนที่มีจำนวนอะตอมของคาร์บอนเท่ากันแสดงในตาราง 11.8
สำหรับแอลเคนที่มีโครงสร้างแบบโซ่กิ่ง หมู่อะตอมที่แยกออกมาจากสายโซ่ของคาร์บอนจะเป็นโมเลกุลของแอลเคนที่สูญเสียไฮโดรเจน 1 อะตอม มีสูตรทั่วไปเป็น

ตาราง 11.8 สูตรและชื่อของหมู่แอลคิลเปรียบเทียบกับแอลเคนที่เป็นโซ่ตรง
จำนวนอะตอมของคาร์บอน
|
ชื่อของแอลเคน
|
สูตรโครงสร้างของแอลเคน
|
สูตรโครงสร้างของหมู่แอลคิล
|
ชื่อของหมู่แอลคิล
|
1
|
มีเทน
(methane)
| ![]() | ![]() |
เมทิล
(methyl)
|
2
|
อีเทน
(ethane)
| ![]() | ![]() |
เอทิล
(ethyl)
|
3
|
โพรเพน
(propane)
| ![]() | ![]() |
โพรพิล
(propyl)
|
4
|
บิวเทน
(butane)
| ![]() | ![]() |
บิวทิล
(butyl)
|
5
|
เพนเทน
(pentane)
| ![]() | ![]() |
เพนทิล
(pentyl)
|
จากตาราง 11.8 พบว่าการเรียกชื่อหมู่แอลคิลใช้หลักการเดียวกันกับการเรียกชื่อแอลเคน แต่เปลี่ยนท้ายเสียงจาก เ - น (-ane) เป็น - ลิ (-yl) การเขียนแสดงหมู่แอลคิลที่ไม่ต้องระบุจำนวนอะตอมของคาร์บอนทำได้โดยใช้สัญลักษณ์ <b>R</b> การเรียกชื่อแอลเคนที่เป็นโซ่กิ่งมีหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
1. เลือกสายโซ่ของคาร์บอนที่ต่อกันยาวที่สุดเป็นโซ่หลัก ซึ่งไม่จำเป็นต้องเป็นเส้นตรงแนวเดียวกันตลอดแล้ว
ใช้หลักการเรียกชื่อเหมือนกันแอลเคนแบบโซ่ตรงเช่น
.jpg)
ถ้าสามารถเลือกโซ่หลักที่มีอะตอมของคาร์บอนต่อกันยาวที่สุดได้หลายแบบ ให้เลือกแบบที่มีจำนวนหมู่แอลคิล
มากกว่าเป็นโซ่หลัก เช่น
.jpg)
1. กำหนดตัวเลขแสดงตำแหน่งของคาร์บอนในโซ่หลัก โดยเริ่มจากปลายด้านใดก็ได้ที่ทำให้หมู่แอลคิลอยู่ใน
ตำแหน่งที่มีตัวเลขน้อยๆ เช่น
.jpg)
1. เรียกชื่อหมู่แอลคิลนำหน้าชื่อของแอลเคน โดยระบุตัวเลขแสดงตำแหน่งของคาร์บอนที่หมู่แอลคิลต่ออยู่ถ้าหมู่
แอลคิลที่ต่ออยู่กับโซ่หลักเป็นหมู่เดียวกัน ให้ใช้คำนำหน้าแสดงจำนวนหมู่แอลคิลเป็นภาษากรีก เช่น ได (di) ไตร (tri) เตตระ (tetra) แทนจำนวนหมู่แอลคิล 2 3 4 หมู่ ตามลำดับ โดยเขียนไว้ระหว่างชื่อของหมู่แอลคิลกับตัวเลขแสดงตำแหน่ง เช่น
.jpg)
1. ถ้าหมู่แอลคิลที่ต่ออยู่กับโซ่หลักแตกต่างกัน ให้เรียกชื่อเรียงลำดับหมู่แอลคิลตามลำดับอักษรภาษาอังกฤษและ
ระบุตัวเลขแสดงตำแหน่งไว้หน้าชื่อหมู่แอลคิล เช่น
.jpg)
นอกจากแอลเคนที่มีโครงสร้างเป็นแบบโซ่เปิดแล้ว ยังมีแอลเคนที่มีโครงสร้างเป็นแบบวง โดยประกอบด้วยคาร์บอนตั้งแต่ 3 อะตอมขึ้นไปสร้างพันธะเดี่ยวต่อกันเป็นรูปเหลี่ยมต่างๆ เช่น สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม ห้าเหลี่ยม หกเหลี่ยม ซึ่งเรียกว่า <b>ไซโคลแอลเคน</b> การเรียกชื่อไซโคลแอลเคน ทำได้เช่นเดียวกับการเรียกชื่อของแอลเคน แต่นำหน้าด้วยคำว่า ไซโคล ตัวอย่างเช่น
.jpg)
- แอลเคนโซ่เปิดกับโซ่ปิดที่มีจำนวนอะตอมของ คาร์บอนเท่ากัน มีจำนวนอะตอมของไฮโดรเจน แตกต่างกันอย่างไร
จากตัวอย่างพบว่าโมเลกุลของไซโคลแอลเคนมีจำนวนอะตอมของไฮโดรเจนน้อยกว่าแอลเคนที่มีจำนวนคาร์บอนเท่ากันอยู่ 2 อะตอมต่อ 1 วงหรือกล่าวได้ว่าจำนวนอะตอมของไฮโดรเจนเป็น 2 เท่าของอะตอมคาร์บอน สูตรทั่วไปของไซโคลแอลเคนจึงเป็น
และพบว่าไซโคลแอนเคนเป็นสารประกอบไฮโดรคาร์บอนชนิดอิ่มตัวเช่นเดียวกับ แอลเคน สมบัติของไซโคลแอลเคนจะมีแนวโน้มคล้ายคลึงกับแอลเคนหรือไม่ ศึกษาได้จากข้อมูลในตาราง 11.9
จากตัวอย่างพบว่าโมเลกุลของไซโคลแอลเคนมีจำนวนอะตอมของไฮโดรเจนน้อยกว่าแอลเคนที่มีจำนวนคาร์บอนเท่ากันอยู่ 2 อะตอมต่อ 1 วงหรือกล่าวได้ว่าจำนวนอะตอมของไฮโดรเจนเป็น 2 เท่าของอะตอมคาร์บอน สูตรทั่วไปของไซโคลแอลเคนจึงเป็น

จำนวนอะตอม
ของคาร์บอน
|
ไซโคลแอลเคน
|
จุดหลอมเหลว
![]() |
จุดเดือด
![]() | |
ชื่อ
|
สูตรโครงสร้าง
| |||
3
|
ไซโคลโพรเพน
| ![]() |
-127.4
|
-32.8
|
4
|
ไซโคลบิวเทน
| ![]() |
-90.6
|
12.6
|
5
|
ไซโคลเพนเทน
| ![]() |
-93.8
|
49.3
|
6
|
ไซโคลเฮกเซน
| ![]() |
6.6
|
80.7
|
เมื่อพิจารณาข้อมูลในตาราง 11.9 พบว่าแนวโน้มของจุดหลอมเหลวและจุดเดือดของไซโคลแอนเคนมีค่าสูงขึ้นตามจำนวนอะตอมของคาร์บอนเช่นเดียวกับแอลเคนโซ่ตรง ซึ่งอธิบายได้ในทำนองเดียวกัน นอกจากนี้ยังพบว่าการเกิดปฏิกิริยาของไซโคลแอนเคนก็คล้ายกับแอลเคนด้วย
แอลเคนหลายชนิดนำมาใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ เช่น มีเทน ใช้เป็นเชื้อเพลิงในโรงไฟฟ้าและโรงงานต่างๆ และใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตเคมีภัณฑ์ต่างๆ เช่น เมทานอล อีเทนและโพรเพนใช้ในการผลิตเอทิลีนและโพรพิลีนเพื่อเป็นสารตั้งต้นในกระบวนการผลิตเม็ดพลาสติก แก๊สผสมระหว่างโพรเพนกับบิวเทนใช้เป็นแก๊สหุงต้มตามบ้านเรือน แก๊สหุงต้มเป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นปิโตรเลียมและการแยกแก๊สธรรมชาติ เมื่อนำไปบรรจุในถังเหล็กภายใต้ความดันสูง แก๊สจะเปลี่ยนสถานะเป็นของเหลวจึงเรียกว่าแก๊สปิโตรเลียมเหลว (Liqufied Petroleum Gas หรือ LPG) เฮกเซนใช้เป็นตัวทำละลายในอุตสาหกรรมการสกัดน้ำมันพืช น้ำหอม ไซโคลเฮกเซนใช้เป็นตัวทำละลายในการทำเรซินและแล็กเกอร์ ใช้ล้างสี ใช้เป็นสารตั้งต้นในการผลิตสารประกอบอินทรีย์ เช่น เบนซีน
แอลเคนที่มีมวลโมเลกุลสูงๆ เช่น พาราฟิน ใช้เคลือบผักและผลไม้เพื่อรักษาความชุ่มชื้นและป้องกันการเจริญเติบโตของเชื้อรา นอกจากนี้ยังใช้แอลเคนเป็นสารตั้งต้นในอุตสาหกรรมหลายชนิด เช่น อุตสาหกรรมผลิตผงซักฟอก เส้นใย สารเคมีทางการเกษตร และสารกำจัดศัตรูพืช
นอกจากแอลเคนจะมีประโยชน์ดังที่กล่าวมาแล้ว แอลเคนอาจก่อให้เกิดอันตรายขึ้นได้ เนื่องจากแอลเคนเป็นโมเลกุลไม่มีขั้ว จึงละลายสารประกอบอินทรีย์ที่ไม่มีขั้ว เช่น ไขมันและน้ำมันได้ดี การสูดดมไอของแอลเคนเข้าไปจะทำให้เกิดอันตรายกับระบบทางเดินหายใจ โดยแอลเคนจะไปละลายไขมันในผนังเซลล์ชองปอด หรือถ้าผิวหนังสัมผัสกับตัวทำละลาย เช่น เฮกเซน จะทำให้ผิวหนังแห้งแตกเพราะว่าน้ำมันที่ผิวหนังถูกชะล้างออกไป
พันธะของคาร์บอน
คาร์บอนเป็นธาตุในหมู่ 4A หรือหมู่ 14 มีเวเลนซ์อิเล็กตรอนเท่ากับ 4 จึงสามารใช้อิเล็กตรอนร่วมกับอะตอมอื่นๆ อีก 4 อิเล็กตรอน เกิดเป็นพันธะโคเวเลนต์ได้ 4 พันธะ และมีเวเลนซ์อิเล็กตรอนครบ 8 ตามกฎออกเตต เช่น คาร์บอน 1 อะตอมใช้เวเลนซ์อิเล็กตรอนร่วมกับไฮโดรเจน 4 อะตอมเกิดเป็นมีเทน
เขียนโครงสร้างลิวอิสแสดงได้ดังนี้

(1).jpg)
การเกิดพันธะโคเวเลนต์ระหว่างธาตุคาร์บอนกับธาตุอื่นๆ ในสารประกอบอินทรีย์บางชนิด แสดงดังตาราง 11.1
ตาราง 11.1 ตัวอย่างสารประกอบอินทรีย์บางชนิด สูตรโมเลกุลและโครงสร้างลิวอิน
(1).jpg)
ชื่อในวงเล็บ คือ ชื่อสามัญ
- พันธะระว่างธาตุคาร์บอนกับธาตุคาร์บอน มีกี่ประเภท อะไรบ้าง
- ธาตุคาร์บอนสร้างพันธะกับธาตุอื่นๆ นอกจาก ธาตุคาร์บอนหรือไม่ อย่างไร
สารประกอบอินทรีย์ส่วนใหญ่เป็นสารโคเวเลนต์ที่มีธาตุคาร์บอนและไฮโดรเจนเป็นองค์ประกอบหลัก โดยที่ธาตุคาร์บอนสามารถสร้างพันธะกับธาตุคาร์บอนด้วยพันธะเดี่ยวพันธะคู่หรือพันธะสามและสร้างพันธะต่อกันไปได้เรื่อยๆ นอกจากนี้ธาตุคาร์บอนยังสามารถสร้างพันธะโคเวเลนต์กับธาตุอื่นๆ เช่น ไนโตรเจน ออกซิเจน กำมะถัน และแฮโลเจนได้อีกด้วย จากเหตุผลดังกล่าวจึงทำให้มีสารประกอบอินทรีย์เป็นจำนวนมาก
11.1.1 การเขียนสูตรโครงสร้างของสารประกอบอินทรีย์
สูตรโครงสร้างของสารเป็นสูตรที่แสดงการจัดเรียงอะตอมของธาตุองค์ประกอบที่มีอยู่ใน 1 โมเลกุลของสารนั้นสำหรับสารประกอบอินทรีย์ที่โมเลกุลมีขนาดใหญ่ การเขียนโครงสร้างลิวอิสแสดงโครงสร้างโมเลกุลของสารเหล่านั้นทำได้ไม่สะดวก จึงอาจเขียนแสดงด้วย>สูตรโครงสร้างแบบย่อโดยแสดงเฉพาะพันธะคู่หรือพันธะสามระหว่างอะตอมของคาร์บอน ส่วนอะตอมของธาตุอื่นที่สร้างพันธะกับอะตอมของคาร์บอน ให้เขียนไว้ข้างคาร์บอนและไม่ต้องแสดงพันธะแล้วเขียนตัวเลขแสดงจำนวนอะตอมกำกับไว้ ถ้ามีกลุ่มอะตอมเหมือนกันมากกว่าหนึ่งหมู่ ให้เขียนไว้ในวงเล็บและระบุจำนวนกลุ่มอะตอมไว้ ดังตัวอย่างในตาราง 11.2
โครงสร้างแบบย่อ มีข้อดีกว่าการเขียนด้วยโครงสร้างแบบลิวอิส กล่าวคือใช้เนื้อที่น้อย เขียนได้สะดวกและรวดเร็ว แต่อาจพิจารณาโครงสร้างของโมเลกุลได้ยากและทำให้เกิดความสับสนได้
|
ตาราง 11.2 สูตรโมเลกุลและโครงสร้างของสารประกอบอินทรีย์บางชนิด
(1).jpg)
ชื่อในวงเล็บ คือ ชื่อสามัญ
นอกจากนี้อาจเขียนสูตรโครงสร้างของสารประกอบอินทรีย์เป็นแบบเส้นและมุม โดยใช้เส้นตรงแทนพันธะระหว่างคาร์บอน ถ้ามีจำนวนคาร์บอนต่อกันมากกว่า 2 อะตอมให้ใช้เส้นต่อกันแบบซิกแซกแทนสายโซ่ของคาร์บอนที่ปลายเส้นตรงและแต่ละมุมของสายโซ่ แทนอะตอมของคาร์บอนต่ออยู่กับไฮโดรเจนในจำนวนที่ทำให้คาร์บอนมีเวเลนซ์อิเล็กตรอนครบ 8 ถ้าในโมเลกุลมีหมู่อะตอมแยกออกมาจากสายโซ่ของคาร์บอน ให้ลากเส้นต่อออกมาจากสายโซ่และให้จุดตัดของเส้นแทนอะตอมของคาร์บอน ตัวอย่างเช่น
.jpg)
ส่วนโมเลกุลที่มีโครงสร้างแบบวง ให้เขียนแสดงพันธะตามรูปเหลี่ยมนั้น เช่น
.jpg)
ตัวอย่างสูตรโครงสร้างของสารประกอบอินทรีย์บางชนิดที่เขียนแสดงด้วยเส้นและมุม แสดงในตาราง 11.3
การเขียนสูตรโครงสร้างของสารโดยใช้เส้นและมุม นิยมใช้กับสารอินทรีย์ที่มีโครงสร้างแบบวงหรือมีโมเลกุลขนาดใหญ่ เนื่องจากเขียนได้สะดวกและรวดเร็วกว่าสูตรโครงสร้างแบบอื่นๆ
|
ตาราง 11.3 การเขียนสูตรโครงสร้างของสารประกอบอินทรีย์แบบ
.jpg)
การเขียนสูตรโครงสร้างแบบต่างๆ ดังที่กล่าวมาแล้วเป็นการแสดงการจัดเรียงตัวของอะตอมที่ประกอบกันเป็นโมเลกุลในลักษณะ 2 มิติ แต่ความเป็นจริงอะตอมของธาตุในโมเลกุลมีการจัดเรียงตัวในลักษณะ 3 มิติ ดังตัวอย่างในตาราง 11.4
ตาราง 11.4 ตัวอย่างโครงสร้างลิวอิสและแบบจำลองโมเลกุล 3 มิติของสารประกอบอินทรีย์บางชนิด
.jpg)
ตาราง 11.4 ตัวอย่างโครงสร้างลิวอิสและแบบจำลองโมเลกุล 3 มิติของสารประกอบอินทรีย์บางชนิด (ต่อ)
.jpg)
- การจัดเรียงตัวของอะตอมต่างๆ ในโมเลกุลอยู่ในระนาบเดียวกันหรือไม่อย่างไร
- มุมพันธะรอบอะตอมของคาร์บอนเหมือนหรือ แตกต่างกันอย่างไร
การเขียนสูตรโครงสร้างโดยใช้เส้นและมุม จะเขียนตามลักษณะการจัดเรียงตัวของอะตอมในโครงสร้าง 3 มิติ เช่น
![]() |
เมื่อพิจารณาแบบจำลองโมเลกุล 3 มิติในตาราง 11.4 จะพบว่าการจัดเรียงตัวของธาตุส่วนใหญ่ไม่อยู่ในระนาบเดียวกัน เนื่องจากถูกกำหนดโดยทิศทางของพันธะรอบอะตอมของคาร์บอน ซึ่งต้องจัดเรียงตัวให้อยู่ห่างกันมากที่สุด โดยโมเลกุลที่มีพันธะเดี่ยวทั้งหมด เช่น
จะมีมุมระหว่างพันธะประมาณ 109.5 องศา และมีรูปร่างโมเลกุลแบบทรงสี่หน้า ส่วนโมเลกุลที่มีพันธะคู่ 1 พันธะ เช่น
จะมีมุมระหว่างพันธะประมาณ 120 องศา และมีรูปร่างโมเลกุลเป็นสามเหลี่ยมแบนราบ สำหรับโมเลกุลที่มีพันธะสาม เช่น
จะมีมุมระหว่างพันธะเท่ากับ 180 องศา และมีรูปร่างโมเลกุลเป็นเส้นตรง มุมระหว่างพันธะของโมเลกุล
และ
แสดงดังรูป 11.1





.jpg)
รูป 11.1 มุมระหว่างพันธะของโมเลกุล
และ
- สารประกอบอินทรีย์ที่มีสูตรโมเลกุลเหมือนกัน จะมีสูตรโครงสร้างแตกต่างกันได้หรือไม่
11.1.2 ไอโซเมอริซึม
จากโครงสร้างลิวอิลและแบบจำลองโมเลกุลในตาราง 11.4 พบว่าสารประกอบอินทรีย์บางชนิดมีสูตรโมเลกุลเหมือนกันแต่มีสูตรโครงสร้างได้มากกว่า 1 แบบ เช่น สารที่มีสูตรโมเลกุล
จัดเรียงตัวแตกต่างกันได้ 2 แบบ สารทั้ง 2 แบบนี้มีสมบัติเหมือนกันหรือไม่ ให้พิจารณาข้อมูลในตาราง 11.5
ตาราง 11.5 สมบัติบางประการของสารประกอบอินทรีย์ที่มีสูตรโมเลกุล



- สารประกอบอินทรีย์ที่มีสูตรโมเลกุลเหมือนกัน จะมีสูตรโครงสร้างแตกต่างกันได้หรือไม่
11.1.2 ไอโซเมอริซึม
จากโครงสร้างลิวอิลและแบบจำลองโมเลกุลในตาราง 11.4 พบว่าสารประกอบอินทรีย์บางชนิดมีสูตรโมเลกุลเหมือนกันแต่มีสูตรโครงสร้างได้มากกว่า 1 แบบ เช่น สารที่มีสูตรโมเลกุล

ตาราง 11.5 สมบัติบางประการของสารประกอบอินทรีย์ที่มีสูตรโมเลกุล

โครงสร้างของสารประกอบ
|
จุดหลอมเหลว (
![]() |
จุดเดือด (
![]() |
ความหนาแน่นที่ 20
![]() ![]() |
![]() ![]() ![]() ![]() |
-138.3
|
-0.5
|
0.573
|
![]() |
-159.4
|
-11.7
|
0.551
|
เมื่อพิจารณาโครงสร้างของ
พบว่าแบบแรกมีอะตอมของคาร์บอนต่อกันเป็นสายยาว โครงสร้างแบบนี้เรียกว่า โซ่ตรงส่วนแบบที่ 2 มีหมู่
ต่อกับอะตอมของคาร์บอนทีเป็นสายยาว โครงสร้างแบบนี้เรียกว่าโซ่กิ่งสารที่มีโครงสร้างเป็นแบบโซ่ตรงหรือโซ่กิ่งรวมเรียกว่า โซ่เปิด สำหรับสมบัติของสารทั้งสอง พบว่าโครงสร้างแบบโซ่ตรงมีจุดหลอมเหลว จุดเดือด และความหนาแน่นสูงกว่าแบบโซ่กิ่ง แสดงว่าสมบัติของสารประกอบอินทรีย์ขึ้นอยู่กับโครงสร้างของโมเลกุลด้วย
ปรากฏการณ์ที่สารประกอบอินทรีย์มีสูตรโมเลกุลเหมือนกันแต่มีสมบัติแตกต่างกันเรียกว่าไอโซเมอร์ริซึมและเรียกสารแต่ละชนิดว่าไอโซเมอร์ สำหรับไอโซเมอร์ที่มีสูตรโมเลกุลเหมือนกันแต่จัดเรียงตัวของอะตอมในตำแหน่งที่ต่างกันหรือมีสูตรโครงสร้างต่างกันจะเรียกว่า ไอโซเมอร์โครงสร้าง
สารประกอบที่มีสูตรโมเลกุลเป็น
มีกี่ไอโซเมอร์ และแต่ละไอโซเมอร์มีสูตรโครงสร้างเป็นอย่างไร ให้ศึกษาจากการทดลองต่อไปนี้


ปรากฏการณ์ที่สารประกอบอินทรีย์มีสูตรโมเลกุลเหมือนกันแต่มีสมบัติแตกต่างกันเรียกว่าไอโซเมอร์ริซึมและเรียกสารแต่ละชนิดว่าไอโซเมอร์ สำหรับไอโซเมอร์ที่มีสูตรโมเลกุลเหมือนกันแต่จัดเรียงตัวของอะตอมในตำแหน่งที่ต่างกันหรือมีสูตรโครงสร้างต่างกันจะเรียกว่า ไอโซเมอร์โครงสร้าง
สารประกอบที่มีสูตรโมเลกุลเป็น

>การทดลอง 11.1 การจัดเรียงอะตอมของคาร์บอนในสารประกอบอินทรีย์
1. ใช้แบบจำลองอะตอมที่เป็นลูกพลาสติกกลม โดยให้สีดำแทนอะตอมของคาร์บอน สีขาวแทนอะตอมของไฮโดรเจน และใช้ก้านไม้หรือก้านพลาสติกแทนพันธะ
2. นำลูกกลมสีดำจำนวน 5 ลูกมาต่อกันด้วยก้านพลาสติกให้เป็นสายยาว แล้วต่อลูกกลมสีขาวเข้ากับอะตอมของคาร์บอนให้ครบทุกพันธะบันทึกผลโดยเขียนเป็นโครงสร้างลิวอิส
3. เปลี่ยนโครงสร้างโมเลกุลจากข้อ 2 ให้เป็นแบบโซ่กิ่ง โดยใช้ลูกกลมและก้านพลาสติกเท่าเดิม บันทึกผลโดยเขียนโครงสร้างลิวอิส
- เมื่อต่อคาร์บอน 5 อะตอมด้วยพันธะเดี่ยวทั้งหมดจะได้กี่ไอโซเมอร์ แต่ละไอโซเมอร์มีโครงสร้าง อย่างไร
- ถ้าต่อแบบจำลองโดยใช้คาร์บอน 5 อะตอม แต่ เปลี่ยนพันธะเดี่ยวเป็นพันธะคู่ 1 พันธะ จะได้กี่ ไอโซเมอร์ แต่ละไอโซเมอร์มีโครงสร้างอย่างไร
จากการทดลองต่อแบบจำลองโมเลกุลของ
พบว่าได้ไอโซเมอร์ที่เป็นโซ่เปิด 3 ไอโซเมอร์คือ แบบโซ่ตรง 1 ไอโซเมอร์และแบบโซ่กิ่ง 2 ไอโซเมอร์ ส่วนแบบจำลองโมเลกุลที่มีคาร์บอน 5 อะตอมและมีพันธะคู่ระหว่างอะตอมของคาร์บอน 1 พันธะ จะมีสูตรโมเลกุลเป็น
เกิดไอโซเมอร์ที่เป็นแบบโซ่เปิดได้ 5 ไอโซเมอร์คือ แบบโซ่ตรง 2 ไอโซเมอร์และแบบโซ่กิ่ง 3 ไอโซเมอร์
นอกจากนี้ยังพบว่าสารประกอบอินทรีย์ที่มีสูตรโมเลกุลเป็น
มีสูตรโครงสร้างต่างจากไอโซเมอร์โซ่เปิดได้อีก โดยที่ธาตุคาร์บอนในโมเลกุลสร้างพันธะต่อกันเป็นวง โครงสร้างแบบนี้เรียกว่า แบบวง ดังตัวอย่าง


นอกจากนี้ยังพบว่าสารประกอบอินทรีย์ที่มีสูตรโมเลกุลเป็น

.jpg)
การเปลี่ยนโครงสร้างของสารประกอบอินทรีย์ที่มีสูตรโมเลกุลเหมือนกันจากโซ่ตรงเป็นโซ่กิ่ง จากโซ่เปิดเป็นแบบวง และการเปลี่ยนตำแหน่งของพันธะคู่หรือพันธะสาม ระหว่างอะตอมของคาร์บอน ทำให้เกิดโครงสร้างใหม่ซึ่งต่างก็เป็นไอโซเมอร์กัน ดังนั้นการเกิดไอโซเมอร์จึงเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้มีสารประกอบอินทรีย์เป็นจำนวนมาก
ขอเฉลยหน่อย
ตอบลบ