วันอังคารที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2559

พระพุทธศาสนา

หลักธรรมสำคัญของศาสนา                                
           ในแต่ละศาสนาจะมีหลักธรรมคำสอนปลีกย่อยแตกต่างกัน เพื่อให้ผู้ประพฤติปฏิบัติไปสู่จุดมุ่งหมายสูงสุดของศาสนา แม้คนไทยส่วนใหญ่จะนับถือพระพุทธศาสนา   
           แต่ก็มีคนไทยอีกส่วนหนึ่งที่นับถือศาสนาแตกต่างกันไป ซึ่งทุกคนสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างสงบสุข เพราะทุกศาสนามีหลักธรรมคำสอนที่สอดคล้องกัน  คือ สอนให้ทุกคนละเว้น
           จากการทำความชั่ว ให้ทำความดี มีความรักและความเมตตาต่อกัน


         ๑. หลักคำสอนสำคัญของพระพุทธศาสนา
                    หลักคำสอนสำคัญของพระพุทธศาสนาที่ควรนำไปปฏิบัติ ได้แก่
                    ๑) โอวาท ๓ เป็นหลักธรรมคำสอนที่เป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา เป็นที่รวมโอวาททั้งมวลของพระพุทธเจ้าที่ทรงแสดงตลอด ๔๕ พรรษา ได้แก่
                    

 การไม่ทำความชั่วทั้งปวง                    ● การทำความดีให้ถึงพร้อม                    ● การทำจิตใจให้ผ่องใสบริสุทธิ์
                                ซึ่งมีแนวทางปฏิบัติครอบคลุมคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหมด 



            ๒) ไตรสิกขา

                        ไตรสิกขา หมายถึง ข้อปฏิบัติที่ต้องศึกษา ๓ ประการ คือ ศีล สมาธิ และปัญญา


            ๓) พระรัตนตรัย

                        พระรัตนตรัย หมายถึง ดวงแก้วอันประเสริฐ ๓ ประการ ซึ่งถือเป็นดวงมณีอันล้ำค่าของชาวพุทธ และเป็นหลักที่เคารพบูชาสูงสุดของพุทธศาสนิกชน รวมทั้งยังเป็นองค์ประกอบที่
สำคัญของพระพุทธศาสนา ได้แก่ พระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ ผู้ที่นับถือพระพุทธศาสนา ต้องมีความศรัทธาเลื่อมใสในคุณของพระรัตนตรัย หรือมีความเชื่อมั่นในคุณของ
                           พระรัตนตรัย ซึ่งมีดังนี้

    
    ๒. หลักคำสอนสำคัญทางศาสนาคริสต์


                       ๑) หลักความรัก ศาสนาคริสต์สอนให้ทุกคนมีความรัก ดังเช่นที่พระเยซูทรงกล่าวไว้ก่อนสิ้นพระชนม์ว่า 


ความรักเป็นสิ่งที่มีค่ายิ่งกว่าเงินทองและทรัพย์สมบัติใดๆ ในโลก
จงรักพระเจ้า รักครอบครัว รักเพื่อนบ้าน และรักเพื่อนมนุษย์
แล้วจะได้รับความรักจากโลกนี้ เป็นสิ่งตอบแทน
                คำสอนเรื่องความรักในศาสนาคริสต์ คือ การปรารถนาให้ผู้อื่นมีความสุข มีความเมตตากรุณา ให้อภัยซึ่งกันและกัน และยินดีเมื่อเห็นผู้อื่นได้ดี 



            
               ๒) หลักตรีเอกานุภาพ
                            ตรีเอกานุภาพ หมายถึง พระเจ้าองค์เดียว แต่มี ๓ พระบุคคล ได้แก่ พระบิดา พระบุตร และพระจิต 


            ๓) บัญญัติ ๑๐ ประการ
                    (๑) จงนมัสการพระเจ้าแต่เพียงพระองค์เดียว
                    (๒) อย่าออกพระนามพระเจ้าโดยไม่มีเหตุผล
                    (๓) จงถือวันพระเจ้าเป็นวันศักดิ์สิทธิ์
                    (๔) จงนับถือบิดามารดา
                    (๕) อย่าฆ่าคน
                    (๖) อย่าผิดประเวณี
                    (๗) อย่าลักทรัพย์
                    (๘) อย่านินทาว่าร้ายผู้อื่น
                    (๙) อย่าคิดมิชอบ
                    (๑๐) อย่ามีความโลภในสิ่งของผู้อื่น 

คำว่า "คริสต์" เป็นภาษากรีก มีความหมายตรงกับ "เมสสิอาห์" ในภาษายิว
ในระยะแรก ศาสนาคริสต์เป็นที่เลื่อมใสศรัทธาของชาวยิว แต่ต่อมาได้แพร่หลายเข้าไปในหมู่ชาวกรีก และแพร่ขยายไปทั่วกรุงโรม จนกระทั่งกลายเป็นศาสนาประจำ อาณาจักรโรมัน ซึ่งในเวลาต่อมากลายเป็นศาสนาประจำชาติของประเทศต่างๆ ทั่วยุโรป ในปัจจุบันมีผู้นับถือศาสนาคริสต์กระจายอยู่ตามที่ต่างๆ ทั่วทุกมุมของโลกมากเป็นอันดับ ๑ ของโลก


        ๓. หลักคำสอนสำคัญของศาสนาอิสลาม


                   ๑) หลักศรัทธา ๖ ประการ
                            (๑) ศรัทธาต่อพระอัลลอฮฺ มุสลิมเชื่อว่ามีพระเจ้าพระองค์เดียวเป็นผู้สร้างสรรพสิ่ง ผู้เป็นมุสลิมจะต้องศรัทธาต่อพระอัลลอฮฺเพียงพระองค์เดียว

                            (๒) ศรัทธาต่อเทวทูต (มลาอิกะฮฺ) ของพระอัลลอฮฺ ผู้เป็นมุสลิมต้องเชื่อว่าเทวทูตมีจริง เทวทูตทำหน้าที่ในการสื่อสารถึงศาสนทูต (รสูล) และศาสนทูตจะนำคำสั่งสอน                
                                   ของอัลลอฮฺมาเผยแผ่แก่มวลมนุษย์

                            (๓) ศรัทธาต่อพระคัมภีร์ทั้งหลาย ผู้เป็นมุสลิมต้องศรัทธาต่อคัมภีร์ที่พระอัลลอฮฺประทานมาให้ผ่านมลาอิกะฮฺและรสูล เพื่อเผยแผ่มายังมนุษย์
    
                            (๔) ศรัทธาต่อศาสนทูต ผู้เป็นมุสลิมต้องศรัทธาในศาสนทูตซึ่งเป็นผู้ที่พระอัลลอฮฺเลือกสรรแล้วว่าเป็นคนดีเหมาะแก่การเป็นผู้ประกาศศาสนา ถือว่าท่านนบีมุฮัมมัดเป็น
                                   ศาสนทูตองค์สุดท้าย

                            (๕) ศรัทธาในวันพิพากษาโลก ผู้เป็นมุสลิมต้องเชื่อว่าโลกมีวันแตกดับ พระอัลลอฮฺจะเป็นผู้พิพากษามนุษย์ตามกรรมดีกรรมชั่วของแต่ละบุคคล


                            (๖) ศรัทธาในกฎสภาวะของพระอัลลอฮฺ ผู้เป็นมุสลิมต้องเชื่อว่าพระอัลลอฮฺเป็นผู้ลิขิตชีวิตมนุษย์


ประเทศที่นับถือศาสนาอิสลามเป็นศาสนาประจำชาติ จะนำเอาบทบัญญัติในศาสนามาตราเป็นกฎหมายใช้ในการดูแลควบคุมความสงบของบ้านเมืองด้วย ดังนั้น การกระทำบางอย่างที่ขัดกับหลักศาสนาจึงถือเป็นความผิดตามกฎหมายด้วย เช่น การดื่มสุรา อาจต้องโทษถึงจำคุก
            ๒) หลักปฏิบัติ ๕ ประการ
                        (๑) การปฏิญาณตน เป็นการประกาศยอมรับด้วยความศรัทธาและความบริสุทธิ์ใจว่า พระอัลลอฮฺเป็นพระเจ้าสูงสุดเพียงพระองค์เดียวเท่านั้น และยอมรับว่าท่านนบีมุฮัมมัดเป็นศาสนทูตของพระอัลเลาะห์ ในการปฏิญาณตน จะต้องทำด้วยความบริสุทธิ์ใจ และทำเมื่อนมัสการพระเจ้า (ละหมาด) ผู้เป็นมุสลิมต้องกล่าวปฏิญาณว่า
ประเทศที่นับถือศาสนาอิสลามเป็นศาสนาประจำชาติ จะนำเอาบทบัญญัติในศาสนามาตราเป็นกฎหมายใช้ในการดูแลควบคุมความสงบของบ้านเมืองด้วย ดังนั้น การกระทำบางอย่างที่ขัดกับหลักศาสนาจึงถือเป็นความผิดตามกฎหมายด้วย เช่น การดื่มสุรา อาจต้องโทษถึงจำคุก
                      
                      (๒) การละหมาด เป็นการนมัสการพระเจ้าทั้งทางร่างกายและจิตใจ ผู้เป็นมุสลิมจะต้องละหมาด วันละ ๕ เวลา คือ ย่ำรุ่ง กลางวัน เย็น พลบค่ำ และกลางคืน ก่อนที่จะละหมาดจะต้องชำระร่างกายให้สะอาดและสำรวมจิตใจให้สงบ การละหมาดเป็นพื้นฐานของศาสนาอิสลาม ข้อที่ ๒ การละหมาดจะช่วยสกัดกั้นความคิดและการกระทำที่ไม่ดีงามต่างๆ อย่างเป็นระบบ ต่อเนื่องในรอบวัน ทำให้คนที่ละหมาดไม่กล้าทำสิ่งที่ขัดกับศีลธรรมจรรยา 



(๓) การบริจาคซะกาฮฺ เป็นการบริจาคทรัพย์หรือให้ทานแก่คนที่เหมาะสมตามที่ศาสนากำหนด เช่น เด็กกำพร้า คนที่ขัดสน ผู้เผยแผ่ศาสนาการบริจาคซะกาฮฺถือเป็นข้อบังคับที่ต้องปฏิบัติ ผู้เป็นมุสลิมถือว่าเป็นหน้าที่ที่จะต้องสละทรัพย์ของตนเพื่อแบ่งปันให้แก่ผู้อื่น เป็นการขัดเกลาจิตใจให้สะอาดลดความเห็นแก่ตัว และเป็นการลดช่องว่างในสังคม

(๔) การถือศีลอด เป็นการละเว้นจากการบริโภคอาหาร เครื่องดื่มและการมีเพศสัมพันธ์ ตั้งแต่พระอาทิตย์ขึ้นจนถึงพระอาทิตย์ตก เป็นเวลาตลอด ๑ เดือน คือ ในเดือน ๙ หรือที่เรียกว่า เดือนเราะมะฎอน ตามปฏิทินของอิสลาม การถือศีลอดเป็นการแสดงความศรัทธาต่ออัลลอฮฺ ฝึกความอดทนเพื่อกำราบกิเลสใฝ่ต่ำ

(๕) การประกอบพิธีหัจญ์ เป็นการประกอบศาสนกิจที่นครมักกะฮฺ ประเทศซาอุดีอาระเบีย มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ชาวมุสลิมระลึกถึงพระเจ้าและได้พบปะพี่น้องมุสลิม                                             จากทั่วโลก


การประกอบพิธีหัจญ์ไม่ได้มีการบังคับให้ชาวมุสลิมต้องปฏิบัติ แต่ชาวมุสลิมที่พร้อมด้วยกำลังทรัพย์และกำลังกาย ควรหาโอกาสไปทำพิธีนี้อย่างน้อย ๑ ครั้งในชีวิต
ขณะที่ประกอบพิธีหัจญ์ ทุกคนจะอยู่ในสถานภาพเดียวกัน จะไม่มีความแตกต่างกันในเรื่องชนชั้นหรือวรรณะและความร่ำรวยหรือยากจน การทำหัจญ์เป็นการทำลาย                                              
ระบบชนชั้นในขั้นตอนหนึ่ง และสะท้อนให้เห็นว่าความเป็นจริงแล้ว มนุษย์เราทุกคนต่างมีศักดิ์ศรีและความเป็นคนเท่าเทียมกัน


   ๔. หลักคำสอนสำคัญของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู
                                ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู มีหลักคำสอนที่สำคัญ ดังนี้
     
   ๑) หลักธรรม ๑๐ ประการ
            (๑)     ธฤติ ได้แก่ ความพอใจ ความกล้า ความมั่นคง คือ มีความเพียรพยายามจนได้รับความสำเร็จตามความต้องการของตน
                            (๒)     กษมา ได้แก่ ความอดทน ความอดกลั้น มีความเพียร พยายาม และมีความเมตตากรุณาเป็นพื้นฐาน
                            (๓)     ทมะ ได้แก่ การข่มจิตใจของตนเองด้วยเมตตา และมีสติอยู่เสมอ
                            (๔)     อัสเตยะ ได้แก่ การไม่ลักขโมย ไม่กระทำการโจรกรรม
                            (๕)     เศาจะ ได้แก่ การกระทำตนให้บริสุทธิ์ทั้งร่างกายและจิตใจ
                            (๖)     อินทรียนิครหะ ได้แก่ การหมั่นตรวจสอบอินทรีย์ ๑๐ ประการ ให้ได้รับการตอบสนองที่ถูกต้อง
                            (๗)     ธี ได้แก่ ปัญญา สติ มติ ความคิด ความมั่นคงยืนนาน นั่นคือควรมีปัญญาและรู้จักระเบียบวิธีต่างๆ ทั้งทางขนบธรรมเนียมประเพณี ธรรมะ สังคม
                            (๘ )    วิทยา ได้แก่ ความรทู้ างปรัชญา
                           (๙)      สัตยา ได้แก่ ความจริง คือ การแสดงความซื่อสัตย์ต่อกันและกัน
                            (๑๐)  อโกธะ ได้แก่ ความไม่โกรธ คือ การเอาชนะ ความโกรธด้วยการไม่โกรธ


             ๒) หลักอาศรม ๔
หลักอาศรม ๔ หมายถึง ขั้นตอนการดำเนินชีวิตของผู้ที่นับถือศาสนาพราหมณ์-ฮินดู เพื่อยกระดับชีวิตให้สูงขึ้น จนบรรลุจุดมุ่งหมายสูงสุดของชีวิต คือ หลุดพ้นจากสังสารวัฏ (การเวียนว่ายตายเกิด) แบ่งออกเป็น ๔ ขั้นตอน ได้แก่ พรหมจารี คฤหัสถ์ วานปรัสถ์ และ สันยาสี

(๑) พรหมจารี เป็นวัยที่ต้องศึกษาเล่าเรียน เด็กชายทุกคนที่เกิดในวรรณะพราหมณ์ กษัตริย์ แพศย์ เมื่อมีอายุครบ ๕ ปี ๘ ปี และ๑๖ ปี ตามลำดับ จะต้องเข้าพิธีมอบตนเป็นศิษย์เพื่อศึกษาพระเวทกับอาจารย์
(๒) คฤหัสถ์ เป็นวัยแห่งการครองเรือน เมื่อสำเร็จการศึกษา พราหมณ์เหล่านี้ก็จะกลับคืนสู่บ้านเรือน เพื่อแต่งงานและมีบุตรสืบสกุล พร้อมกับทำหน้าที่ผู้ครองเรือนในฐานะหัวหน้าครอบครัว
(๓) วานปรัสถ์ เป็นช่วงเวลาในการทำประโยชน์ต่อสังคมและประเทศชาติ คือ การออกบวชเข้าสู่ป่า เพื่อฝึกจิตให้บริสุทธิ์ การเข้าป่าเพื่อหาความสงบนี้อาจทำเป็นครั้งคราวแล้วกลับสู่เรือนอีกก็ได้
(๔) สันยาสี เป็นขั้นสุดท้ายของชีวิต โดยสละชีวิตคฤหัสถ์เพื่อออกบวชบำเพ็ญเพียรตามหลักของศาสนา เพื่อให้ตนเองหลุดพ้นจากสังสารวัฎ เพื่อบรรลุจุดมุ่งหมายของชีวิต คือ โมกษะ

         
      ๕. หลักคำสอนสำคัญของศาสนาสิกข์
หลักคำสอนของศาสนาสิกข์ จะสอนให้รู้จักพยายามเอาชนะ อุปสรรคต่างๆ การที่คนเราจะพบความสุขที่แท้จริงได้ มีอยู่ ๕ ประการ คือ

(๑) กรรม คือ การกระทำ
(๒) ปัญญา คือ ความรอบรู้ในทุกสิ่งทุกอย่างที่เป็นจริง
(๓) มหาปีติ คือ ความอิ่มใจ ทำให้อิ่มเอิบอยู่ในทางธรรม
(๔) พละ คือ กำลังจิต ทำให้แน่วแน่มั่นคง ไม่หวั่นไหว ไม่เกรงกลัว
(๕) สัจจะ คือ ความเคารพอย่างจริงใจต่อพระเจ้า

ศาสนาสิกข์ยังได้กำหนดระเบียบวินัยให้ปฏิบัติ ดังนี้
(๑) วินัยทางกาย ได้แก่ การให้บริการคนอื่นทางกาย และทางวาจา เป็นการให้ทาน
(๒) วินัยทางศีลธรรม ได้แก่ การหาเลี้ยงชีพโดยชอบธรรม
(๓) วินัยทางจิตใจ ได้แก่ ความเชื่อมั่นในพระเจ้าองค์เดียว มีจิตใจอยู่กับพระเจ้า

นอกจากนี้หลักคำสอนที่สำคัญของศาสนาสิกข์ คือ การสอนให้นับถือเทพเจ้าเพียงองค์เดียว สอนให้คนมีความเสมอภาคกัน และมีเสรีภาพ เช่น การยกฐานะผู้หญิงให้เท่าเทียมกับผู้ชาย ให้ผู้หญิงมีสิทธิในการศึกษาร่วมสวดมนต์หรือเป็นผู้นำในการสวดมนต์ได้เช่นเดียวกับผู้ชาย เป็นต้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น